٨ مارس ٢٠٢١
ปล.สมาชิกที่เข้า Buy เมื่อวาน ให้หาจังหวะปิดกำไรช่วงราคา 50218.00 – 51070.28 แนวรับแนวต้านที่สำคัญ 51614.29 แนวต้าน 51070.28 แนวต้าน 49924.37 แนวรับ 47114.25 แนวรับความคิดเห็นในเชิงเทคนิค RSI เกิดรูปแบบ Drivergence หลังจากที่ราคา ทะลุแนว 49162.78 ขึ้นไปทดสอบแนว 51070.28 หลังจากนั้นราคาได้มีการพักราคา ลงมาถึงแนว 50236.26 หลังจากนั้นมีแรงขายกลับเข้ามาทำให้ราคาทะลุแนว 51070.28 หลังจากนั้นราคาก็หมดแรงที่จะขึ้น และมีการเทขายเกิดต่ำกว่าแนว 51070.28 และเกิดรูปแบบกลับตัวที่ชัดเจน นั้นทำให้ราคามีแนวโน้มที่จะที่เกิดรูปแบบกลับตัว Head and Shoulders Pattern และราคาลงมาทะลุแนว 49924.37 ก็มีแนวโน้มที่จะลงต่อไปยังแนว 47114.25 ทางเลือกในการลงทุน รอให้มีการเทราคาให้ทะลุแนว 49924.37 และรอให้ราคากลับมาทดสอบแนว 49924.37 รอให้เกิดสัญญาณลงต่อ (Price Action) ให้หาจังหวะในการเข้า ขาย Sell โดนกำหนดเป้าหมายราคาอยู่ที่แนว 47114.25 และตั้งตัดขาดทุนอยู่ที่แนว 50813.98 ปล. เมือราคาถึงแนว 49162.78 / 2 ทางเลือก เก็บกำไร 1.ปิดกำไรก่อน หรือทยอยปิดไม้กำไร 2.ถือยาว เลือนเส้น Stoploss ลงมาตำแหน่งที่เปิด เพื่อป้องกันการขาด ข่าวต่างประเทศ -- นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 16-17 มี.ค.นี้ หลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม Wall Street Journal Jobs Summit เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า การที่สหรัฐกลับมาเปิดเศรษฐกิจ หลังมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ จะทำให้เงินเฟ้อดีดตัวขึ้น ขณะเดียวกันนายพาวเวลได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนในตลาดพันธบัตรและภาวะตึงตัวด้านการเงินที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของเฟด อย่างไรก็ดี นายพาวเวลไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะใช้มาตรการควบคุมความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดพันธบัตร ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก -- จับตาข้อมูลเศรษฐกิจในวันนี้ โดยญี่ปุ่นมีกำหนดเปิดเผยดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนม.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนม.ค. ขณะที่เยอรมนีเตรียมเปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. และสหรัฐเปิดเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนม.ค. ส่วนในวันพรุ่งนี้ ญี่ปุ่นเปิดเผยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือนม.ค. และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2563 (ประมาณการครั้งสุดท้าย) ทางด้านออสเตรเลียมีกำหนดเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนก.พ.จากเนชันแนล ออสเตรเลีย แบงก์ (NAB) ขณะที่เยอรมนีเปิดเผยดุลการค้าเดือนม.ค. และอียูเปิดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2563 (ประมาณการครั้งที่ 3) ส่วนทางด้านสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนก.พ.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) cr.ryt9