١٤ فبراير ٢٠٢٢
ทองคำพุ่งทะยานเหนือ 1840 ดอลลาร์ช่วงเช้ามืดวันเสาร์ที่ผ่านก่อนตลาดปิด ตลาดทองคำนิวยอร์คปิดตลาดเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมาเหนือระดับ 1840 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังนายลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐได้ออกมาประกาศเตือนว่ารัสเซียอาจจะมีการบุกเข้าโจมตียูเครนในสัปดาห์นี้หรือช่วงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ จึงได้สั่งอพยพพลเรือนอเมริกันและเจ้าหน้าที่สถานทูตออกจากยูเครน และประกาศถอนกำลังทหารที่อยู่ในยูเครนราว 160 นายเป็นการด่วน ทำให้ทองคำได้รับแรงหนุนจากความตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนขณะนี้ และรวมถึงรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์สหรัฐนั้นก็ยังเป็นความกังวลอีกประเด็นที่กลับมาหนุนราคาทองคำให้พุ่งทะยานเหนือระดับ 1840 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพราะเนื่องจากนักลงทุนคงกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงอันจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนี้อาจไม่สามารถยับยั้งเงินเฟ้อได้เต็มประสิทธิภาพพอ ทำให้นักลงทุนเข้าหาตลาดทองคำเพื่อประกันความเสี่ยงเงินเฟ้อกันอีกครั้ง สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commondity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 4.7 ดอลลาร์ หรือ 0.26% ปิดที่ 1,842.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมาประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM ทองคำเช้านี้ได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐอีกรอบ โดยยังแกว่งตัวเหนือระดับ 1850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขณะที่ได้เขียนบทวิเคราะห์นี้ หากราคาทองคำยังยังทรงตัวเหนือระดับ 1848-1842 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น โอกาสที่ราคาทองคำจะกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ระดับ 1865-1876 ดอลลาร์ต่อออนซ์ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน สำหรับช่วงเช้าวันนี้ต้องติดตามสถานการณ์รัสเซียกับยูเครนเป็นหลัก และการตอบสนองของตลาดซื้อขายล่วงหน้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ว่ายังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำหรือไม่ วันนี้ตลาดสหรัฐไม่มีตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจรายงาน แต่ให้ติดตามคำแถลงของ บัลลาร์ด หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐเกี่ยวกับเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยได้เวลา 23:00 น. ตามเวลาประเทศไทย ===========Indicator (TF H1) =========== True RSI (14) เส้น RSI เข้าช่วงการปรับฐานโดนเส้นกำลังปรับเข้าหาระดับ 60 บรรจบกับเส้น SMA20 วันหากยังทรงได้ก็จะมีการปรับขึ้นช่วง 70 ได้อีกครั้งแต่หากหลุดลงไปให้รอตัดสินใจที่ระดับ 50-40 เส้น SMA200 ยังมีการปรับตัวขึ้นไม่ลาดชันมากนัก เนื่องจากแรงซื้อยังไม่ชี้ขาดตลาดทองคำในขณะนี้ เส้น SMA 50 ปรับตัวขึ้นเข้าหากลุ่มราคาทองคำหลังจากที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นถอยห่างเส้นไปเมื่อช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา คาดว่าจะมีการย่อตัวของราคาลงทดสอบแนว SMA50 วันได้ในวันนี้ =================================กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง ================================= Long Position : หากราคาทองคำยังทรงตัวเหนือระดับ 1842-1848 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิดซื้อทองคำได้จากบริเวณดังกล่าว โดยคงเน้นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาปิดทำกำไรได้ที่บริเวณแนวต้านเดิม 1865-1876 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำหลุดแนวรับ 1842 ดอลลาร์ต่อออนซ์) Short Position : หากราคาทองคำยังไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1865-1876 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิดคำสั่ง “ขาย” ได้จากแนวบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการทำกำไรระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาปิดทำกำไรที่แนวรับบริเวณ 1848-1842 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับขึ้นสูงกว่า 1876 ดอลลาร์ต่อออนซ์)แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะสั้น) ------------------------------------------- Resistance : 1863 / 1877 / 1910 ------------------------------------------- Support : 1850 / 1829 / 1815 -------------------------------------------แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น) ------------------------------------------- Resistance : 1865 / 1876 / 1882 ------------------------------------------- Support : 1848 / 1837 / 1821 -------------------------------------------แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้ Time Frame H1 = Uptrend Time Frame H4 = Uptrend Time Frame Day = Uptrend Time Frame Week = UPTREND Time Frame Month = UPTREND -------------------------------------------กองทุน SPDR ถือครองทองคำ ------------------------------------------- สถานะการถือครองทองคำ = วันเสาร์ที่ 12 ซื้อเพิ่ม 3.48 ตัน คงถือสุทธิ = 1,019.44 ตัน ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,858.45 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปรับการถือครองครั้งที่ = 7 รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = +5.18 ตัน ------------------------------------------- *การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง **ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง ***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต